สำหรับผู้ที่ต้องการ ผ่าตัดใส่ข้อเทียม

เช็กให้ชัวร์ สัญญาณอันตราย! ก่อนข้อเข่าเสื่อมเกินแก้ไข
หากคุณมีอาการเหล่านี้ อย่ามองข้าม!

ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกและข้อเพิ่มเติม
For more information, please feel free to contact us as.
https://www.bbraun.co.th/th/company/contact/contact-form.html

4 อาการที่บ่งบอกว่าคุณเสี่ยงต่อการเป็น “โรคข้อเข่าเสื่อม” โดยไม่รู้ตัว

1. อาการปวดและบวมบริเวณเข่า
มีอาการปวดเรื้อรังมากกว่า 6 เดือน หรือมีอาการปวดหลังจากทำกิจกรรมที่ใช้หัวเข่าเยอะ เช่น การเดิน การนั่งสมาธิ และการขึ้นบันได เป็นต้น ซึ่งในระยะแรกจะมีอาการปวดเล็กน้อยและสามารถสะสมถึงขั้นปวดจนไม่สามารถหายขาดเองได้ ส่งผลให้การดำเนินชีวิตประจำวันของคุณแย่ลงมากกว่าเดิม

2. ข้อเข่าตึง ฝืด

เป็นอาการตึงที่ข้อเข่า เข่าติด ไม่สามารถขยับเข่าหรืองอเข่าได้ทันที เคลื่อนไหวเปลี่ยนท่าได้ช้าลง เหยียดงอเข่าได้ไม่สุด

3. เกิดเสียงบริเวณข้อเข่าขณะเคลื่อนไหวร่างกาย

4. รูปร่างข้อเข่าโก่ง หลวม หรือเบี้ยวผิดรูป

หากคุณมีอาการเหล่านี้ ควรเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อโดยทันที เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสมที่สุด สามารถใช้ชีวิตประจำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สาเหตุของการเกิด “โรคข้อเข่าเสื่อม”

1. “อายุ” โดยส่วนใหญ่พบตั้งแต่ผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เพราะผิวกระดูกอ่อนและหมอนรองกระดูกจะเสื่อมตามวัย ทำให้เสี่ยงต่อการเป็น “โรคข้อเข่าเสื่อม”

2. การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า สำหรับผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับกระดูกเข่า หรือผู้ที่เคยผ่าตัดทางกระดูกมาก่อน

3. โรคประจำตัว เช่น โรครูมาตอยด์ (Rheumatoid) เป็นการอักเสบเรื้อรังในข้อเข่า หรือ โรคเก๊าท์ จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็น “โรคข้อเข่าเสื่อม” มากกว่าคนที่ไม่มีโรคประจำตัว

4. น้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์ ทำให้เกิดการรองรับน้ำหนักที่มากขึ้น การเสียดสีของข้อเข่าก็จะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายกว่าเดิม

ไม่ต้องกังวล! โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถรักษาได้

ในปัจจุบันการรักษา “โรคข้อเข่าเสื่อม” สามารถรักษาให้หายได้ 2 แบบ คือ

การรักษาด้วยตัวเอง เช่น การทานยาบรรเทาอาการปวด ยาแก้อักเสบ, ปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตไม่เสี่ยงต่อการทำร้ายข้อเข่า เช่น ไม่ยกของหนัก หรือ นั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน และ การควบคุมน้ำหนัก

การรักษาทางการแพทย์ เช่น การฉีดสเตียร์รอยด์ สำหรับผู้ป่วยที่มีการอักเสบแบบเฉียบพลัน, การฉีด PRP (Platelet Rich Plasma) หรือ การฉีดเกล็ดเลือด, กายภาพบำบัด และ การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมมี 2 รูปแบบ คือ การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมแบบทั้งหมด (Total Knee Replacement) และ การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมแบบเฉพาะฝั่ง (Unicompartmental Knee Replacement) โดยแพทย์ผู้ผ่าตัดจะปรับมุมและแนวของกระดูกให้กลับมาใกล้เคียงกับหัวเข่าเดิมมากที่สุด

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม

เป็นวิธีการรักษาที่ช่วยให้อาการเจ็บปวดหายได้ดีที่สุด และสามารถทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงมากที่สุดอีกด้วย

ซึ่งในปัจจุบัน บี. บราวน์ เห็นถึงความสำคัญของการรักษาผู้ป่วย จึงพัฒนาสินค้าที่มีประสิทธิภาพและนวัตกรรมที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่า และทำให้ผู้ป่วยใช้งานข้อเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น วัสดุทดแทนข้อเข่าเทียม รวมไปถึงวัสดุพิเศษเคลือบผิว 7 ชั้นเพื่อป้องกันการแพ้โลหะ หรือ เครื่องนำวิถี (Navigator) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม เป็นต้น โดยอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์รักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้คนไข้ใกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่และเป็นปกติมากที่สุด

สนใจสินค้ากลุ่มผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกและข้อ อาทิ

●     การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

  • วัสดุทดแทนข้อเข่าเทียม (Knee Prosthesis)
  • วัสดุพิเศษเคลือบผิว 7 ชั้นในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Advanced surface)

●     การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

  • วัสดุทดแทนข้อสะโพกเทียม (Hip Prosthesis)
  • วัสดุพิเศษที่ใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (Ceramic)

●     เครื่องนำวิถีในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม (Navigator)

กรุณาแจ้งข้อมูลเพื่อให้ติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด
https://www.bbraun.co.th/th/company/contact/contact-form.html

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก

https://www.synphaet.co.th/knee-osteoarthritis/
https://www.paolohospital.com/th-TH/phrapradaeng/Article/Details