การดูแลโภชนบำบัด (Nutrition Therapy)

โภชนบำบัดกับชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง

รู้หรือไม่? ความชุกของภาวะทุพโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) พบในผู้ป่วยมะเร็งมากถึงร้อยละ 20-70

ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโภชนบำบัดเพิ่มเติม
For more information, please feel free to contact us as.
https://www.bbraun.co.th/th/company/contact/contact-form.html

ในประเทศไทย มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิต 1 ใน 5 อันดับแรกของเพศชายและเพศหญิง ด้วยเพราะการดำเนินของโรคและผลไม่พึงประสงค์ของการรักษาโรคมะเร็ง เช่น การรักษาด้วยเคมีบำบัด อาการข้างเคียงที่มักเกิดขึ้นคือร่างกายของผู้ป่วยจะสูญเสียสารอาหารมากขึ้น เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจึงอาจพบกับภาวะทุพโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยมะเร็งหูคอจมูก (Head and neck cancer) และมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง ตอบสนองต่อการรักษาไม่เต็มที่ คุณภาพชีวิตแย่ลง ไปจนถึงอัตราการรอดชีวิตลดน้อยลงด้วย

การดูแลโภชนบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย จนถึงตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอาการไม่พึงประสงค์และสามารถวางแผนจัดการได้อย่างทันท่วงที 

มะเร็งกับผลข้างเคียงที่เลี่ยงไม่ได้

สาเหตุการเกิดภาวะทุพโภชนาการ เกิดจากเซลล์มะเร็งผลิตสารจำพวกไซโตไคส์ (Cytokines) ซึ่งจะไปกระตุ้นเซลล์ไขมันให้ผลิตฮอร์โมนเลปติน (Leptin) มากขึ้น ฮอร์โมนเลปตินจะส่งสัญญาณไปยังสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ทำให้ร่างกายเข้าใจว่ามีพลังงานมากเพียงพอ สมองส่วนไฮโปทาลามัสจึงทำให้เกิดอาการไม่อยากรับประทานอาหาร พร้อมทั้งกระตุ้นให้ร่างกายใช้พลังงานมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการสลายโปรตีนและไขมันเกินความจำเป็น ผู้ป่วยจึงมีน้ำหนักลดลง เกิดภาวะซีด ระดับโปรตีนในเลือดลดลง บวม และมีภาวะทุพโภชนาการ

โภชนบำบัดกับชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง

การดูแลโภชนบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งมีจุดประสงค์เพื่อให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมุ่งหวังเพื่อป้องกันภาวะทุพโภชนาการ ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน ลดผลข้างเคียงจากการรักษา และเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วย โดยการดูแลโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งแบ่งได้เป็น 3 ช่องทาง ดังนี้

●     การให้สารอาหารทางปาก (Oral Nutritional Supplements) ควรเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีภาวะเบื่ออาหาร ด้วยวิธีการให้คำแนะนำทางโภชนาการให้ปรับเปลี่ยนอาหาร เช่น รับประทานไข่เจียวแทนไข่ต้ม รับประทานข้าวผัดแทนข้าวขาว เพื่อให้ได้พลังงานเพิ่ม หรือให้อาหารเสริมทางการแพทย์ที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน

●     การให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ (Parenteral Nutritional) : 

เริ่มในผู้ป่วยที่ไม่สามารถให้อาหารเข้าทางเดินอาหารได้ เช่น เยื่อบุช่องปากอักเสบรุนแรง ลำไส้อักเสบรุนแรง โดยจะเป็นการให้สารอาหารผ่านทางเข็ม Catheter ต่อเข้ากับหลอดเลือดดำผ่านทางผิวหนัง หรือหลอดเลือดดำส่วนปลายบริเวณแขน  สำหรับการให้สารอาหารทางหลอดเลือด (Parenteral Nutrition)  ควรได้รับการดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกฝนทักษะแล้วเนื่องจากผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้นได้ การให้สารอาหารจากบรรจุภัณฑ์เข้าสู่ร่างกายจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์ต่าง ๆ ร่วมกันอย่างเป็นระบบ

ในขั้นตอนการให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ บี. บราวน์ มีระบบซึ่งให้ความปลอดภัยและช่วยลดการเกิดข้อผิดพลาดทางการแพทย์ เช่น อุปกรณ์ Disposable ที่ช่วยป้องกันความสับสนในการต่ออุปกรณ์ Enteral เข้ากับ IV-lines 

บี. บราวน์ เองในฐานะผู้ปกป้องและพัฒนาสุขภาพของคนทั่วโลก จึงมุ่งผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งแบ่งปันความเชี่ยวชาญเรื่องการดูแลโภชนบำบัด เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงสร้างสุขภาพที่ดี ทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยให้อยู่ได้อย่างยืนยาวที่สุด

สนใจสินค้ากลุ่มโภชนบำบัด อาทิ

  • สารอาหารสำหรับหยดเข้าร่างกายทางหลอดเลือดดำ
  • อิมัลชั่นของไขมันสําหรับการหยดเข้าหลอดเลือดดํา
  • กรดอะมิโนสำหรับให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
  • เครื่องตรวจวัดความต้องการพลังงานทางอ้อม
  • ชุดให้อาหารผ่านระบบทางเดินอาหาร
  • ชุดให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ


กรุณาแจ้งข้อมูลเพื่อให้ติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด
คลิก https://www.bbraun.co.th/th/company/contact/contact-form.html

 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก

- บทความฟื้นฟูวิชาการ การให้โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม โดย วีรนุช โรจน์ยินดีเลิศ อายุรแพทย์ด้านโภชนศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลกรุงเทพ จากวารสารโภชนบำบัด

- บทความ บทบาทของโภชนบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งหูคอจมูก โดยชณิตา อุณหพิพัฒพงศ์ จากวารสารทางการแพทย์ รามาธิบดี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/237430/168553

- บทความฟื้นฟูวิชาการ โภชนาการบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดย จตุรงค์ ตันติมงคลสุข จากวารสารทางการแพทย์จุฬาลงกรณ์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 43 ประจำเดือนมิถุนายน 2542 http://clmjournal.org/_fileupload/journal/281-4-7.pdf

- บทความฟื้นฟูวิชาการ การประเมินภาวะโภชนาการผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดย จินตนา สุวิทวัส จากศรีนครินทร์เวชสาร ปีที่ 35 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนกันยายน - ตุลาคม 2543 https://www.thaidj.org/index.php/smnj/article/view/9684

- บทความ โภชนบำบัดกับการรักษามะเร็ง โดย กมล ไชยสิทธิ์ จาก ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/data/news/nutrition_ca2.pdf?newsID=892&typeID=19

- บทความทบทวนวิชาการ ผลของเคมีบำบัดต่อโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็ง โดย ชิดชนก รุ่งเรื่อง และคณะ จากวารสารโภชนบำบัด ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2562 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/242056/164729