การดูแลผู้ป่วยที่มีทวารเทียม ชีวิตที่ง่ายและลงตัว

ดูแลกาย รักษาใจ ใช้ชีวิตอย่างมั่นใจกับถุงทวารเทียม

รู้หรือไม่? ภาวะวิตกกังวลและสูญเสียความมั่นใจ อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยที่ใช้ทวารเทียมทางหน้าท้องมากถึง 24.2%*

ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้ากลุ่มดูแลทวารเทียมทางหน้าท้องเพิ่มเติม
For more information, please feel free to contact us.
https://www.bbraun.co.th/th/company/contact/contact-form.html

การผ่าตัดทวารเทียมทางหน้าท้อง หรือการผ่าตัดเปิดลำไส้ใหญ่ออกทางหน้าท้อง (Colostomy) ร่วมกับการให้เคมีบำบัด นับเป็นหนึ่งในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการสร้างทางเปิดระหว่างลำไส้ใหญ่และผนังหน้าท้องที่เรียกว่า ทวารเทียม เพื่อเป็นการระบายออกของอุจจาระแทนที่ทวารหนัก

อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แต่การต้องเผชิญหน้ากับสภาพร่างกายและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ก็เป็นสิ่งที่อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียด ความกังวล จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ จิตใจ รวมถึงทักษะการเข้าสังคมและปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น

การใส่ใจดูแลกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งทางด้านร่างกาย ควบคู่ไปกับการรักษาเยียวยาจิตใจ จึงเป็นกุญแจสำคัญหลักในการกระตุ้นให้ผู้ป่วยยอมรับ ปรับตัว เปิดใจเรียนรู้การใช้ชีวิตแบบใหม่ร่วมกับการมีถุงทวารเทียมทางหน้าท้อง เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เริ่มต้นชีวิตใหม่ : เริ่มต้นการใช้ถุงทวารเทียมทางหน้าท้อง

                ผู้ป่วยที่เริ่มต้นใช้ถุงทวารเทียมทางหน้าท้อง ในระยะแรก อาจเกิดความตึงเครียด เนื่องจากไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตนเองในการเข้าสังคม อาจเกิดความรู้สึกต่อตนเองในทางไม่ดี มองว่าตนไร้คุณค่า ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ความเข้าใจในเรื่องของสิทธิและศักดิ์ศรีของผู้ป่วย มีส่วนช่วยทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับสังคมดีขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเราสามารถเสริมสร้างความมั่นใจ และเตรียมพร้อมปรับตัวให้เข้ากับชีวิตรูปแบบใหม่ของผู้ป่วยได้ โดยมีวิธีการดังนี้

เตรียมความพร้อมด้านจิตใจ 
อธิบายผู้ป่วยให้เข้าใจโรค และความจำเป็นของการรักษาด้วยการผ่าตัดทวารเทียมทางหน้าท้อง ตามสภาพความพร้อมในการรับรู้ความจริงของผู้ป่วยแต่ละราย เท่าที่ผู้ป่วยควรรู้และมีประโยชน์ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อกำลังใจ จะช่วยทำให้ผู้ป่วยยอมรับการมีชีวิตอยู่กับทวารเทียมใหม่ และมองว่าเป็นโอกาสที่ทำให้ตนเองมีชีวิตอยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าระยะก่อนผ่าตัด 

ให้การส่งเสริมกำลังใจในเชิงบวก
เนื่องจากผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่คุ้นชินกับการมีทวารเทียมใหม่ ทำให้รู้สึกหวาดกลัว สูญเสียบุคคลิกภาพและความมั่นใจในตนเอง เนื่องจากรู้สึกอับอายจากการมีถุงอุจจาระทางหน้าท้อง ดังนั้นจึงควรส่งเสริม สนับสนุน และให้กำลังใจผู้ป่วยโดยไม่แสดงท่าทีรังเกียจ สร้างบรรยากาศของความไว้วางใจ ห่วงใย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยเล่าถึงปัญหา อาการแสดงของโรค ความวิตกกังวลใจ ตลอดจนเคารพในความเป็นบุคคลของผู้ป่วย จะช่วยทำให้ผู้ป่วยคลายความทุกข์ทรมานจากโรคที่เผชิญอยู่ และมีพลังกาย พลังใจให้กับตนเองต่อไป

ให้ความรู้เรื่องการดูแลทวารเทียม
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตร่วมกับถุงทวารเทียมทางหน้าท้อง การดูแลผิวหนังรอบทวารใหม่ การติดถุงรองรับอุจจาระ การจัดการการรั่วซึมของอุจจาระ การทำความสะอาดทวารใหม่ การเปลี่ยนอุปกรณ์รองรับอุจจาระ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การแต่งกาย เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอในการใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตัวเอง

ให้โอกาสผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติ

สนับสนุนให้ผู้ป่วยใช้ความสามารถเท่าที่มีอยู่ดำรงชีวิตประจำวันอย่างปกติ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามข้อมูล รับฟังปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับอาการป่วยที่ตนเองต้องเผชิญ หรือเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พบปะพูดคุยกับผู้ป่วยที่ใช้ถุงทวารเทียมทางหน้าท้องเหมือนกัน เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้การปรับตัว และแนวทางในการดำรงชีวิต จะช่วยทำให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวล มีกำลังใจในการรักษา รวมถึงยินดีที่จะได้รับความช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัวและคนรอบข้างเมื่อจำเป็น

บี. บราวน์ ขอร่วมเป็นหนึ่งในแรงสนับสนุน ส่งเสริม และร่วมแบ่งปันความเชี่ยวชาญในการเตรียมพร้อมเริ่มต้นชีวิตใหม่กับการใช้ทวารเทียมของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งทวารหนัก ด้วยการมุ่งค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับอุปกรณ์สำหรับถุงทวารเทียมทางหน้าท้อง เพื่อให้ผู้ป่วย ผู้ดูแล ตลอดจนสมาชิกในครอบครัว สามารถยอมรับและปรับตัวต่อการรักษา สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขใกล้เคียงกับระยะก่อนเจ็บป่วย

 

สนใจสินค้ากลุ่มดูแลทวารเทียมทางหน้าท้อง อาทิ

  • ถุงรองรับสิ่งขับถ่ายแบบชิ้นเดียวสีขุ่นพร้อมแป้น สำหรับระบบทางเดินอาหาร
  • ถุงรองรับสิ่งขับถ่ายแบบชิ้นเดียวสีใสพร้อมแป้น สำหรับระบบทางเดินอาหาร
  • ถุงรองรับปัสสาวะแบบชิ้นเดียวสีใสพร้อมแป้น สำหรับระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ถุงรองรับปัสสาวะแบบชิ้นเดียวสีขุ่นพร้อมแป้น สำหรับระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ถุงรองรับสิ่งขับถ่ายแบบสองชิ้นสีขุ่น สำหรับระบบทางเดินอาหาร
  • ถุงรองรับสิ่งขับถ่ายแบบสองชิ้นสีใส สำหรับระบบทางเดินอาหาร
  • ถุงรองรับปัสสาวะแบบสองชิ้นสีใส สำหรับระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ถุงรองรับปัสสาวะแบบสองชิ้นสีขุ่น สำหรับระบบทางเดินปัสสาวะ
  • แป้นติดหน้าท้องแบนราบ ชนิด 2 ชิ้น สำหรับระบบทางเดินอาหารและปัสสาวะ
  • แป้นติดหน้าท้องแบบนูน ชนิด 2 ชิ้น สำหรับระบบทางเดินอาหารและปัสสาวะ
  • อุปกรณ์เสริมสำหรับดูแลทวารเทียมและผิวหน้าท้อง
     

กรุณาแจ้งข้อมูลเพื่อให้ติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด
https://www.bbraun.co.th/th/company/contact/contact-form.html

 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก
*อ้างอิงจากการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีทวารเทียมทางหน้าท้องชนิดถาวรในประเทศไทย ของนวพร ชิตมน จากวิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2549

- บทความ วิถีชีวิตของผู้ป่วยที่มีทวารเทียม โดย สายสมร เฉลยกิตติ และคณะ จากวารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2556

- บทความ ความชุกและปัจจัยสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมทางหน้าท้อง ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดย วิลาสินี พิพัฒน์ผล และคณะ จากวารสารเวชศาสตร์ร่วมสมัย ปีที่ 59 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2557

- วิทยานิพนธ์ ประสบการณ์ชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมทางหน้าท้องชนิดถาวร ในโรงพยาบาลรามาธิบดี โดย ชนิกา นิ่มสันต์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2558

- บทความ คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีทวารเทียมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดย ชลยา อัตถาภินันท์ และคณะ จากวารสารเวชศาสตร์ร่วมสมัย ปีที่ 61 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2560

- บทความ ปัจจัยทำนายความว้าเหว่ของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พักรักษาในโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี โดย ลัดดาวัลย์ ฟองค์ และคณะ จากวารสารกรมการแพทย์ ปีที่ 43 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2561

- บทความ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสูงอายุ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับการผ่าตัดเปิดทวารใหม่ที่อาศัยในสังคมเขตเมือง โดย จรัสพร วิลัยสัย และคณะ จากวารสารวชิรสารการพยาบาล ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2565