ดูแลบาดแผลอย่างเหมาะสม เรื่องใกล้ตัวที่ควรใส่ใจ

การดูแลบาดแผล : เรื่องใกล้ตัวที่ควรใส่ใจ

รู้หรือไม่? การดูแลทำความสะอาดแผลอย่างถูกวิธี อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้เช่นเดียวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ

ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลแผลเพิ่มเติม
For more information, please feel free to contact us as.
https://www.bbraun.co.th/th/company/contact/contact-form.html

บาดแผล ทางการแพทย์หมายถึง การบาดเจ็บทุกชนิดที่ก่อให้เกิดการแตกสลายของผิวหนัง หรือเยื่อบุส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย รวมทั้งการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นแก่เนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนล่างลงไปจากผิวหนัง โดยผลของบาดแผลที่ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ เลือดออกและการติดเชื้อ เนื่องจากบาดแผลเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็น แผลถลอก บาดแผลฉีกขาดจากอุบัติเหตุหรือการผ่าตัด ดังนั้นการป้องกันดูแลให้บาดแผลหายได้อย่างดีที่สุดจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

ประเภทของอุปกรณ์การดูแลแผล

แม้เป้าหมายหลักของการดูแลแผล คือ การทำให้บาดแผลหายได้อย่างดีที่สุด แต่การทำแผลนั้นมีหลายรูปแบบรวมถึง ใช้วัสดุอุปกรณ์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของบาดแผล ปัจจุบันมีอุปกรณ์ทำแผลมากกว่า 2,000 ชนิดในโลก และอีกกว่าร้อยชนิดในประเทศไทย ซึ่งอาจสร้างความสับสนและเป็นปัญหาในหารเลือกใช้อุปกรณ์ หากผู้ใช้งานมีความรู้ความเข้าใจไม่มากพอ

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการทดลองใดบ่งชี้ว่าอุปกรณ์ชนิดใดดีกว่าอุปกรณ์ชนิดอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ สิ่งสำคัญจึงเป็นการเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับบาดแผลแต่ละประเภท โดยสามารถแบ่งอุปกรณ์เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ ดังนี้

ผ้าก๊อซ (Gauze)

ข้อดี : หาง่าย ราคาถูก มีความสามารถในการดูดซับของเหลวได้ดีพอสมควร และสามารถใช้ร่วมกับวัสดุอื่นในการทำแผล เช่น ยาโพวิโดนไอโอดีน ยาซิลเวอร์ซัลฟาไดอะซีน
ข้อเสีย : อาจทำให้เกิดการติดของผ้าก๊อซกับบาดแผล ทำให้เกิดการเจ็บปวดเวลาดึงออก อาจทิ้งฝุ่นผงไว้ในบาดแผลจนระคายเคือง และเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

แผ่นฟิล์ม (Film)

ข้อดี : เป็นแผ่นใส สามารถมองทะลุ กันน้ำเข้า ช่วยในการกักเก็บความชุ่มชื้นไว้กับบาดแผลซึ่งช่วยให้บาดแผลหายได้ดี หากความชื้นเหมาะสม มักใช้กับแผลผ่าตัด แผลเย็บต่าง ๆ ที่ไม่มีเลือดหรือน้ำเหลืองซึมมาก สามารถใช้ร่วมกับผ้าก๊อซ
ข้อเสีย : อาจเกิดการบาดเจ็บของผิวหนังเมื่อดึงออก บาดแผลอาจแฉะ ผิวหนังบริเวณรอบแผลอาจเปื่อย หากใปิดบาดแผลที่มีเลือดหรือน้ำเหลืองซึมมาก 

ไฮโดรเจล (Hydrogel)

ข้อดี : ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่แผล เนื่องจากมีลักษณะเป็นเนื้อเจล เหมาะกับแผลที่ไม่ลึกมาก แผลแห้ง ช่วยในกระบวนการย่อยสลายเนื้อตายของแผล
ข้อเสีย : ต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์ทำแผลชนิดอื่น ดูดซับของเหลวได้ไม่ค่อยดี


ไฮโดรคอลลอยด์ (Hydrocolloid)

ข้อดี : ช่วยเก็บความชุ่มชื้นไว้กับแผลเช่นเดียวกับไฮโดรเจล เหมาะกับแผลแห้ง ป้องกันน้ำและอากาศไม่ให้ไหลผ่าน ช่วยในกระบวนการย่อยสลายเนื้อตายของแผล
ข้อเสีย : แผลอาจมีกลิ่น ไม่เหมาะกับแผลที่มีเลือดและน้ำเหลือง รวมถึงแผลที่มีแบคทีเรียอยู่ในแผล โดยเฉพาะแบคทีเรียชนิดไม่ใช้ออกซิเจน

แผ่นโฟม (Foam)

ข้อดี : สามารถดูดซับของเหลวได้มาก เหมาะกับแผลที่มีปริมาณน้ำเหลืองเยอะ และบาดแผลที่เป็นโพรง
ข้อเสีย : ต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์ทำแผลชนิดอื่น ไม่เหมาะกับแผลติดเชื้อรุนแรง และบาดแผลที่เกิดจากมะเร็ง

แอลจิเนต (Alginate)

ข้อดี : ช่วยลดการไหลออกของเลือด ดูดซับของเหลวได้มากถึง 20 เท่าของน้ำหนักตัวเอง
ข้อเสีย : ต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์ทำแผลชนิดอื่น ไม่ควรใช้กับแผลแห้ง ยดเว้นบางกรณี เช่น แผลเนื้อตายเน่าแห้งในผู้ป่วยขาขาดเลือด


บี. บราวน์ พร้อมแบ่งปันความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดูแลรักษาบาดแผล การปฐมพยาบาลเบื้องต้น รวมถึงการประเมินระดับความรุนแรงของบาดแผล เพื่อให้ผู้บาดเจ็บสามารถรับรู้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเบื้องต้น ลดความรุนแรงอันเกิดจากการดูแลบาดแผลผิดวิธี และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจที่รุนแรงก่อนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล

ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา เวชภัณฑ์กลุ่มการดูแลรักษาแผล อาทิ

  • ผลิตภัณ์ทำความสะอาดแผลและให้ความชุ่มชื้น
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลแผลชนิดไฮโดรเจลใส
  • วัสดุปิดแผลปราศจากเชื้อชนิดซิลเวอร์ อัลจิเนท
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลแผลปราศจากเชื้อซิลเวอร์ อัลจิเนทชนิดเพสต์
  • วัสดุปิดแผลปราศจากเชื้อชนิดซิลิโคนโฟมแบบมีขอบ
  • วัสดุปิดแผลปราศจากเชื้อชนิดซิลิโคนโฟม
  • วัสดุปิดแผลปราศจากเชื้อชนิดไฮโดรฟิลิกโฟม
  • วัสดุปิดแผลปราศจากเชื้อบริเวณส้นเท้า
  • วัสดุปิดแผลปราศจากเชื้อสำหรับรองรับท่อเจาะคอ
  • วัสดุปิดแผลปราศจากเชื้อชนิดไฮโดรเซลลูลาร์
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสูตรออยล์เพื่อการดูแลและฟื้นฟูบำรุงเป็นพิเศษ
     

กรุณาแจ้งข้อมูลเพื่อให้ติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด
https://www.bbraun.co.th/th/company/contact/contact-form.html

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก

- บทความ อุปกรณ์ทำแผลขั้นสูง โดย ณัทธร บูชางกูร จาก ธรรมศาสตร์เวชสาร ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2560
- บทความ การดูแลบาดแผลจากการผ่าตัด โดย ภควดี พลังวชิรา ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จาก เวชสารแพทย์ทหารบก ปีที่ 1 ฉบับที่ 75 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
- บทความ อัตราการติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีบาดแผลสดเกรด 1 จากอุบัติเหตุ หลังได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการดูแลแผลสดจากอุบัติเหตุ โรงพยาบาลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดย พว. อัจฉราณี สังสะนะ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จาก วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2562